วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สิ่งที่ชื่นชอบ

 สถาปัตยกรรมอินเดีย


         สถาปัตยกรรมอินเดีย หมายถึงสถาปัตยกรรมที่พบในประเทศอินเดียปัจจุบัน หยั่งรากมาจากประวัติศาสตร์ของชาติอินเดียวัฒนธรรมอินเดีย และ ศาสนาที่เกิดขึ้นในอินเดีย ซึ่งมีการวิวัฒนาการและพัฒนา แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ได้รับอิทธิพลจากภายนอกในแต่ละยุค ทั้ง กรีก, โรมัน, เปอร์เซีย และ อิสลาม ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมยุคก่อน ๆ และงานศิลปะที่อุทิศเพื่อกษัตริย์และศาสนาอย่างลงตัว

- ยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (3300 ปีก่อน ค.ศ. – 1700 ปีก่อน ค.ศ.)

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุครอบคุลมพื้นที่ขนาดใหญ่ล้อมรอบแม่น้ำสินธุและบริเวณโดยรอบ ในยุคที่อารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมาก (2600–1900 BCE) ได้กำเนิดเมืองจำนวนหนึ่งที่มีความเป็นแบบแผนเดียวกัน ได้แก่ ฮารัปปาโลธัล และ โมเหนโจ-ดาโร หนึ่งในแหล่งมรดกโลก การวางผังเมืองและการวิศวกรรมของเมืองเหล่านี้น่าสนใจมาก ในขณะที่การออกแบบอาคารต่าง ๆ นั้นยังเป็นแบบ "ยึดประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ" (utilitarian) กล่าวคือไม่ค่อยมีการประดิดประดอยหรือตกแต่งให้สวยงามวิจิตร จากหลักฐานพบยุ้งฉาง, ระบบชลประทานและท่อน้ำ, ที่เก็บน้ำ แต่ยังไม่สามารถระบุว่าพบสิ่งก่อสร้างที่เป็นปราสาทหรือศาสนสถานได้ บางเมืองพบการสร้างป้อมปราการ "citadel"[3] นอกจากนี้ยังพบบ่อน้ำอันนำมาสู่การสร้างบ่อน้ำขั้นบันได (stepwell)[4] ในแค่ส่วนหนึ่งของเมืองอาจพบได้มากถึง 700 บ่อ นักวิชาการบางคนจึงเชื่อว่าอารยธรรมฯ นี้เป็นผู้คิดค้นการขุดบ่อน้ำอิฐทรงกระบอก (cylindrical brick lined wells)[4]

การตกแต่งเชิงสถาปัตยกรรมนั้นพบได้น้อยมาก ถึงแม้จะพบ "รูเล็ก ๆ " ในผนังบางตึกก็ตาม งานศิลปะส่วนมากที่พบทำมาจากดินเผา (terracotta) และมีขนาดเล็กจิ๋ว เช่น พวกตราหรือโล่ต่าง ๆ ส่วนรูปปั้นขนาดใหญ่โตนั้นแทบไม่พบเลย ส่วนมากแล้วการก่อสร้างด้วยอิฐนั้นทำมาจากอิฐแบบเผาไฟ ซึ่งต่างกับอีกอารยธรรมใกล้เคียงกันคือเมโสโปเตเมีย ที่ใช้อิฐชนิดผึ่งแดด น้อยมากที่จะสร้างด้วยหิน เช่นใน ธลวีระ (Dholavira) บ้านเรือนส่วนใหญ่มีสองชั้น มีขนาดและแปลนที่เหมือน ๆ กันเมืองใหญ่ ๆ นั้นลดลงอย่างรวดเร็วตามลำดับโดยไม่รู้สาเหตุ เหลือไว้แต่เพียงซากหมู่บ้านและวัฒนธรรมที่ซับซ้อนน้อยกว่าให้ชม



ทัชมาฮาล หรือ ตาชมหัล (Taj Mahal; /ˌtɑː məˈhɑːl, ˌtɑːʒ-/แปลว่า มงกุฏของวัง[taːdʒ ˈmɛːɦ(ə)l]) เป็นอาคารฝังศพสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวงาช้าง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำทางใต้ของแม่น้ำยมุนา ในเมืองอัคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ทัชมาฮาลเริ่มสร้างขึ้นในปี 1632 โดยจักรพรรดิโมกุล จักรพรรดิชาห์ชะฮัน (ครองราชย์ 1628 ถึง 1658) เพื่อตั้งศพของพระสนมเอก มุมตาช มหัล และเป็นที่ตั้งพระศพของจักรพรรดิชาห์ชะฮันเอง ทัชมาฮาลประกอบด้วยตัวอาคารสุสาน, มัสยิด และเกสต์เฮาส์ รายล้อมด้วยสวน การก่อสร้างทัชมาฮาลสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1643 แต่มีการก่อสร้างในเฟสอื่น ๆ ของโครงการที่ดำเนินต่อไปอีกกว่า 10 ปี

ทัชมาฮาลได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี 1983 ในฐานะ "เพชรน้ำเอกของศิลปะมุสลิมในอินเดีย และเป็นหนึ่งในงานชิ้นเอกที่ได้รับการชื่นชมในระดับสากล" และได้รับการยกย่องโดยหลายบุคคลให้เป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมโมกุล และสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์อินเดียอันร่ำรวย ทัชมาฮาลมีผู้เดินทาวมาเยี่ยมเยียนราว 7–8 ล้านคนต่อปีในปี 2007


     อทาลัชวาว (คุชราตઅડાલજની વાવ; Adalaj Stepwell) เป็นบ่อน้ำขั้นบันไดในหมู่บ้านอทาลัช อำเภอคานธีนคร
 รัฐคุชราต ใกล้กับนครอะห์เมดาบาด บ่อน้ำขั้นบันได (วาว) มีความลึกห้าชั้น สร้างขึ้นในปี 1498 ดังที่ปรากฏในจารึกหินอ่อนภาษาสันสกฤต ซึ่งค้นพบบนชั้นแรกของวาว บ่อน้ำขั้นบันไดนี้สร้างขึ้นโดยราณาวีรสิงห์ (Rana Veer Singh) แห่งจักรวรรดิวเฆละ (Vaghela dynasty) แห่งทันไทเทศ (Dandai Desh) แต่หลังราณาสิ้นพระชนม์ในสงคราม กษัตริย์มุสลิมจากเมืองข้างเคียง มะห์มุดเบกาดา จึงสร้างวาวขึ้นใหม่/สร้างต่อด้วยสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลามในปี 1499



รังกนาตจุวามิโกยิล (ทมิฬஅரங்கநாத சுவாமி கோயில்) เป็นโกยิลที่สร้างถวายพระศรีรังคนาถ คือปางไสยาสน์ของพระวิษณุ โกยิลนี้สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมทราวิฑ ตั้งอยู่ในเมืองติรุวรังกัม เขตติรุจจิราปปัฬฬิ รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และโกยิลได้รับการเชิดชูโดยนักบวชอาฬวาร (Alvar) ใน ทิพยประพันธ์ (Divya Prabhandha) และถือเป็นโกยิลสำคัญใน 108 โบสถ์พราหมณ์ "ทิพยเทศ" ที่สร้างถวายพระวิษณุ

โกยิลนี้ถือเป็นโกยิลไวษณพที่มีสีสันฉูดฉาดและงดงามที่สุดในอินเดียใต้ โกยิลนี้ยังมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติของลัทธิไวษณพ เริ่มจากงานของรามานุชะ และนาถมุนีและยมุนาจารย์ซึ่งมาก่อนหน้าในติรุวรังกัม สถานที่ตั้งซึ่งอยู่บนเกาะระหว่างแม่น้ำกลลิทัม และแม่น้ำกาเวรี นั้นทำให้ประสบกับอุทกภัยได้ง่าย รวมทั้งทำให้ง่ายต่อการรุกรานและเปลี่ยนเป็นค่ายทหาร โกยิลเคยถูกทำลายและปล้นชิงของมีค่าไปโดยกองทัพของรัฐสุลต่านเดลีซึ่งบุกเข้าโจมตีและทำลายล้างอาณาจักรปันทยะ (Pandya) เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 และโกยิลก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกในปลายคริสต์ศตวรรษเดียวกัน โกยิลได้รับการสร้างให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันมากขึ้น และสร้างโคปุรัมจำนวนมาก ขยายอาณาเขตของโกยิลมากในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 โกยิลนี้เคยเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางสำคัญของขบวนการภักติ ร่วมไปกับการร่ายรำและขับร้อง

อาณาเขตของติรุวรังกัมโกยิลคือ 155 เอเคอร์ มีศาลเจ้า 81 ศาล, หอและโคปุรัม 21 หอ, ศาลาและมณฑป 39 หลัง และแท็งก์น้ำจำนวนอีกมากมายที่ประกอบเข้ากับระบบไขน้ำและอนุชลประทานที่ซับซ้อนของโกยิล โกยิลนี้ในปัจจุบันถือว่าเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงมีการใช้ประกอบศาสนพิธีเป็นนิจอยู่และถือเป็นแหล่งสำคัญของสถาปัตยกรรมทราวิฑดั้งเดิมที่ซับซ้อนและงดงามอย่างมีเสน่ห์


         โลทัสเทมเพิล (อังกฤษLotus Temple) หรือ กมลมนเทียร (ฮินดีकमल मंदिर) เป็นสักการสถานบาไฮ
 (ศาสนสถานของศาสนาบาไฮ) ที่ตั้งอยู่ในนิวเดลี ประเทศอินเดีย เปิดบริการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1986 ศาสนสถานนี้เป็นที่รู้จักจากรูปทรงดอกบัว และได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเดลี ถึงแม้จะเป็นศาสนสถานของบาไฮ แต่ก็เปิดรับศาสนิกชนจากทุกศาสนาให้เข้าชมอย่างไม่ขาดสาย โครงสร้างที่เป็นคล้ายกับทรง "กลีบดอก" นั้นคือคอนกรีตหุ้มหินอ่อน จำนวน 27 กลีบ วางเป็นกลุ่มละ 3 กลีบ ทำให้เกิดรูปทรงที่มี 9 ด้าน พร้อมประตูทางเข้า 9 บานที่เปิดเข้าไปสู่โถงภายในที่สูงกว่า 34.27 เมตร พร้อมความจุ 2500 ที่นั่ง โลทัสเทมเพิลได้รับรางวัลด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมมากมาย รายงานจากสำนักข่าว CNN ในปี 2001 ระบุว่าสถานที่นี้เป็นอาคารที่มีผู้คนมาเยี่ยมชม "มากที่สุดในโลก


         โมเฮนโจ-ดาโร (อังกฤษMohenjo-daro/mˌhɛn ˈdɑːr/สินธ์موئن جو دڙوmuˑənⁱ dʑoˑ d̪əɽoˑ 
หมายถึง 'เนินของคนตาย'; อูรดูموئن جو دڑو ) เป็นโบราณสถานในแคว้นสินธ์ประเทศปากีสถาน ถูกสร้างประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุโบราณ และหนึ่งในเมืองยุคแรกสุดของโลก คู่กับอารยธรรมอียิปต์โบราณเมโสโปเตเมียไมนอส และการัล เมื่ออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสิ้นสุดลง โมเฮนโจ-ดาโร ก็ถูกทิ้งไปในศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสตกาล และไม่มีใครพบอีกเลยจนกระทั่งคริสตทศวรรษที่ 1920 และกลายเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1980 ปัจจุบัน บริเวณมีความเสี่ยงจากการสึกกร่อนและการบูรณะที่ไม่ถูกต้อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สิ่งที่ชื่นชอบ

  สถาปัตยกรรมอินเดีย           สถาปัตยกรรม อินเดีย  หมายถึง สถาปัตยกรรม ที่พบในประเทศอินเดียปัจจุบัน หยั่งรากมาจาก ประวัติศาสตร์ของชาติอินเด...